ประวัติการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเอราวัณ

สมัย พณฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุม

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502ให้กระทรวงเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้ง

ป่าเทือกเขาสลอบท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจหาข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2504-2515

โดยใช้บริเวณน้ำตกเอราวัณเป็นศูนย์กลางการสำรวจพบว่า บริเวณป่าเทือกเขาสลอบ จังหวัดกาญจนบุรี

มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์

แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน

ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอวังขนายอำเภอบ้านทวน และอำเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี

โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รักษาการณ์ให้เป็นไปตาม

พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กรมป่าไม้จึงมีรายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

แจ้งให้กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยขอเพิกถอนพื้นที่

เขตหวงห้ามที่ดินบางส่วนที่เป็นป่าเทือกเขาสลอบเพื่อเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติได้

โดยมีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนที่ดินหวงห้ามดังกล่าวลงประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา

เมื่อวันที 19 มิถุนายน 2518 และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาสลอบ

ในท้องที่ตำบลไทรโยค ตำบลท่าเสา ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยคตำบลหนองเป็ด

ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง

จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2518และให้ใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติเอราวัณ"

ตามความนิยมและคุ้นเคยของประชาชนที่รู้จักน้ำตกเอราวัณเป็นอย่างดี

โดยมีเนื้อที่ประมาณ 549.9 ตารางกิโลเมตร หรือ 343,735 ไร่

นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 12ของประเทศ 

หน้าแรก ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ น้ำตกชั้นที่ 1 2 3 4 5 6 7
การเดินทาง ค่าธรรมเนียมเข้าชม

พืชพรรณและสัตว์ป่า

บรรณานุกรม

ประวัติผู้จัดทำ

 

 

 

 

 


 

 

 

 

Free Web Hosting